แนวคิด

                       ในช่วงระยะเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแผนใหม่ โดยเน้นกลไกทางการตลาดแบบทุนนิยมที่มีปริมาณของทรัพย์สินเป็นเครื่องวัดมาตรฐานความเจริญประกอบกับการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ที่มุ้งเน้นให้ได้ผลผลิตสูงสุดแต่รักษาราคาผลผลิตให้ต่ำเพื่อการแข่งขันการส่งออก ก่อให้เกิดความล่มสลายของวิถีชีวิตและแนวคิดที่มีคุณค่าที่มีมาแต่เดิมในชนบท เกิดปัญหาภาวะหนี้สิน ไร้ที่ทำกิน สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมคุณภาพชีวิตตกต่ำ ส่งผลกระทบให้เกิดกระแสการอพยพของแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง ที่เป็นศูนย์รวมทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้า การศึกษา และความเจริญทางวัตถุในด้านต่างๆ เพื่อหางานทำเลี้ยงตัวเองและครอบครัวให้อยู่รอดได้
                       จากการที่ได้ศึกษารับรู้เรื่องราวเหล่านี้ทั้งจากประสบการณ์ตรงและสื่อต่างๆ ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำเสนอภาพของผู้คนจำนวนมากที่อพยพจากชนบทมาเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในสถานีขนส่งและสถานีรถไฟ ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเข้าสู่กรุงเทพมหานครและเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตแรงงานอพยพ โดยใช้รูปทรงของคนในอิริยาบถและอารมณ์ต่างๆ ประกอบกับโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างและวัตถุต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานีขนส่งและสถานีรถไฟ สร้างสรรค์โดยใช้ทีแปรงและลายเส้นแบบฉับพลันผสมผสานกับพื้นผิวต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกหยาบกร้าน รวมถึงการใช้น้ำหนักที่ขัดแย้งกันระหว่างขาวกับดำ เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก กดดัน ความแออัดยัดเยียด และความหวัง โดยมีความเชื่อทัศนะคติส่วนตัวและอารมณ์ภายในที่สอดคล้องกับพื้นฐานความเป็นจริงของปัญหาในสังคมอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : -
ขนาด : -

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : -
ขนาด : -

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : -
ขนาด : -

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : -
ขนาด : -

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : -
ขนาด : -